ยินดีต้อนรับ | ระบบฐานข้อมูลทางการศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์

Please wait...

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปของจังหวัดเพชรบูรณ์


1.ที่ตั้ง

           จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดต่อระหว่างภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางประมาณเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือกับเส้นแวงที่ 101 องศาตะวันออกมีพื้นที่ประมาณ 12,668,416 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 7,617,760 ไร่ ส่วนที่กว้างที่สุดของจังหวัดจากด้านตะวันออกถึงตะวันตกกว้าง 55 กิโลเมตรส่วนที่ยาวที่สุดวัดจากเหนือสุดถึงใต้สุดยาว 296 กิโลเมตรและสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 114 เมตรโดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 349 กิโลเมตรตามทางหลวงหมายเลข 21


2. อาณาเขต

จังหวัดเพชรบูรณ์มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้


ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดเลย
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดขอนแก่นและชัยภูมิ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ และพิจิตร .


3.ภูมิประเทศ

           จังหวัดเพชรบูรณ์มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขารูปเกือกม้ารอบพื้นที่ด้านเหนือของจังหวัด และมีแนวขนานกันไปทั้งสองข้างทั้งทิศตะวันออกและทิศตะวันตก พื้นที่ราบส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่อยู่ตอนกลาง และอำเภอด้านใต้ของจังหวัดเป็นพื้นที่ลาดชัน โดยจากเหนือถึงใต้มีพื้นที่ป่าไม้รวม 3,953,455 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 45.78 มีแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้าสายสำคัญที่สุดของจังหวัด ที่ไหลผ่านตลอดกลางของจังหวัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ยาวประมาณ 350 กิโลเมตร ซึ่งต้นน้าเกิดจากภูเขาผาลาในจังหวัดเลย มีห้วยลำธารหลายสายเกิดจากภูเขาเพชรบูรณ์ แม่น้าป่าสักไหนผ่านอำเภอหล่มเก่า หล่มสัก เมืองเพชรบูรณ์ หนองไผ่ บึงสามพัน วิเชียรบุรี และศรีเทพ


4.ภูมิอากาศ

          เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดมีภูเขาล้อมรอบจึงทำให้อากาศร้อนจัดในฤดูร้อนหนาวจัดในฤดูหนาว โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอน้ำหนาวอำเภอเขาค้อและอำเภอหล่มเก่าจะมีอากาศหนาวที่สุดพื้นที่ภูเขาจะมีอากาศเย็นตลอดปีในฤดูร้อนและฤดูฝนอุณหภูมิสูงสุด 36.8 องศาเซลเซียสและต่ำสุด18.1องศาเซลเซียส
          - ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
           - ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
           - ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
           จังหวัดเพชรบูรณ์มีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น จาก 973.1 มิลลิเมตร ในปี พ.ศ. 2559 เป็น 1,373.7 มิลลิเมตร ในปี พ.ศ. 2560 โดยเมื่อพิจารณาจำนวนวันที่ฝนตก พบว่า มีจำนวนวันที่ฝนตกเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศ และภาคเหนือ


5.การปกครองและประชากร

          จังหวัดเพชรบูรณ์แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 117 ตำบล 1,430 หมู่บ้าน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 128 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 3 แห่ง เทศบาลตำบล 22 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 102 แห่ง โดยอำเภอเมืองเพชรบูรณ์มีพื้นที่มากที่สุดอยู่ที่ 2,281 ตร.กม. ในขณะที่อำเภอหล่มสักเป็นอำเภอที่มีจำนวนตำบล จำนวนหมู่บ้าน และจำนวน อบต. มากที่สุดของจังหวัด โดยมีจำนวน 23 ตำบล 251 หมู่บ้าน และ 15 อบต. ตามลำดับ

ตารางที่ 1 ข้อมูลการแบ่งเขตการปกครองจังหวัดเพชรบูรณ์ (รายอำเภอ)

ที่ อำเภอ พื้นที่(ตร.กม.) จำนวนตำบล จำนวนหมู่บ้าน จำนวนเทศบาลเมือง จำนวนเทศบาลตำบล จำนวน อบต.
1 เมืองเพชรบูรณ์ 2,281.00 17 216 1 3 15
2 หล่มสัก 1,535.35 23 251 1 1 19
3 หล่มเก่า 927.07 9 98 - 1 9
4 น้ำหนาว 620.00 4 30 - - 4
5 เขาค้อ 1,333.00 7 72 - 1 4
6 ชนแดน 1,137.00 9 139 - 4 8
7 วังโป่ง 543.00 5 64 - 2 5
8 หนองไผ่ 1,360.20 13 142 - 6 9
9 บึงสามพัน 489.80 9 123 - 1 9
10 วิเชียรบุรี 1,632.00 14 189 1 1 14
11 ศรีเทพ 810.00 7 106 - 2 6
รวม 12,668.42 117 1,430 3 22 102
ที่มา : แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2561 – 2564


6.สภาพการจัดการศึกษาด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา

          จังหวัดเพชรบูรณ์ มีข้าราชการครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาจากทุกสังกัด จำนวนทั้งสิ้น 11,839 คน ในจำนวนนี้มีครูที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการสอน จำนวน 8,947 คน มีผู้เรียนในจังหวัด จำนวน 170,226 คน คิดเป็นอัตราส่วนครูต่อผู้เรียน 1 : 19 คน หากจำแนกตามหน่วยงานที่สำคัญ ในการจัดการศึกษา สามารถจำแนกได้ดังนี้
           1. อัตราส่วนครูต่อผู้เรียนของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ คือ 1 : 14
           2. อัตราส่วนครูต่อผู้เรียนของสถานศึกษาเอกชน คือ 1 : 17
           3. อัตราส่วนครูต่อผู้เรียนของสถานศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ 1 : 9
           4. อัตราส่วนอาจารย์ต่อผู้เรียนของสถานศึกษาอุดมศึกษา คือ 1 : 15


7.สภาพด้านโอกาสทางการศึกษา

          จังหวัดเพชรบูรณ์ มีประชากรวัยเรียน (อายุ 3-24 ปี) จำนวน 264,488 คน ในจำนวนนี้มีประชากรวัยเรียนระดับก่อนประถมศึกษา (3-5ปี) และการศึกษาขั้นพื้นฐาน (6-17 ปี) จำนวน 170,638 คน จำแนกได้ดังนี้
           1) วัยเรียนก่อนประถมศึกษา (อายุ 3-5 ปี) จำนวน 31,102 คน
           2) วัยเรียนระดับประถมศึกษา (อายุ 6-11 ปี) จำนวน 68,729 คน
           3) วัยเรียนระดับ ม.ต้น (อายุ 12-14 ปี) จำนวน 35,845 คน
           4) วัยเรียนระดับ ม.ปลาย (อายุ 15-17 ปี) จำนวน 34,961 คน
           5) อุดมศึกษา จำนวน 93,856 คน
           จากจำนวนประชากรวัยเรียนดังกล่าว เปรียบเทียบกับประชากรวัยเรียนที่อยู่ในระบบการศึกษา พบว่า ประชากรวัยเรียนในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีสัดส่วนการเข้าศึกษาในระดับต่างๆ ในภาพรวม 154,966 จำนวน คิดเป็นร้อยละ 58.59 จากประชากรวัยเรียน ระดับการศึกษาภาคบังคับ จำนวนประชากร 104,569 คน เข้าเรียน 95,875 คิดเป็นร้อยละ 91.68 นอกจากนี้ ยังมีสัดส่วนผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 23,971 คน จำแนกเป็น มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 15,950 คน และ ปวช. จำนวน 8,021 คน คิดเป็นสัดส่วน 66.53 : 33.47 สัดส่วนผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในจังหวัดและระดับ ปวส. จำนวน 12,190 คน จำแนกเป็นระดับ 7,979 คน และ ระดับ ปวส.จำนวน 4,211 คน คิดเป็นสัดส่วน 65.45 : 34.55 ในจำนวนนี้ไม่รวมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รายละเอียดดังแผนภูมิ