จดหมายข่าว
 จดหมายข่าว  


เรื่อง >>  วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เสวนาทิศทางการพัฒนาการศึกษาสู่การพัฒนาจังหวัด

รายละเอียด >>  วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 น. ดร.สัมฤทธิ์ ไวเปีย ศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมเวทีเสวนา หัวข้อ“ทิศทางการพัฒนาการศึกษาสู่การพัฒนาจังหวัดที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยมี นายสมใจ วิเศษทักษิณ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร/ผู้ตรวจราชการ/ศึกษาธิการภาค/ศึกษาธิการจังหวัดเขตพื้นที่ภาคเหนือกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วม ในโครงการส่งเสริมและพัฒนากลไกการบริหารและการจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ของกระทรวงศึกษาธิการ พื้นที่ภาคเหนือ ณ โรงแรมลำปางเวียงทอง จ.ลำปาง >>นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า การวางแผนการศึกษาของจังหวัดลำปาง จะต้องดูบริบทของคนที่อยู่ในพื้นที่และศักยภาพจังหวัดเป็นหลัก ซึ่งจังหวัดลำปางเป็นจังหวัดขนาดกลาง แต่มีงานที่สร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนทั้งในลำปางเองและจังหวัดใกล้เคียงกว่า 50,000 คน ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์และโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ รวมถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น การท่องเที่ยว การทำข้าวแต๋น การทำเครื่องเซรามิก เป็นต้น เมื่อคิดรวมกันแล้วมีมูลค่าหลายพันล้านบาท ขณะที่ยุทธศาสตร์ของจังหวัดลำปางก็เป็นจังหวัดศูนย์กลางของการภาคเหนือตอนบน มีนักลงทุนเข้ามามากมาย นักเรียนนักศึกษาก็มีคุณภาพไม่ได้ด้อยกว่าจังหวัดอื่น เห็นได้จากผลงานเด็กนักเรียนที่เป็นแชมป์หุ่นยนต์โลกจากการแข่งขันที่ประเทศเยอรมนี เป็นต้น >>ดังนั้น ไม่ใช่ว่าคนลำปางไม่มีความสามารถหรือความรู้ เพียงแต่ว่ายังขาดโอกาสและทิศทางในเรื่องของการศึกษาอยู่ จึงต้องการให้นำเทคโนโลยีเข้ามายังจังหวัดลำปางให้มากขึ้น เนื่องจากระบบของ Wi-Fi อินเทอร์เน็ต ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงทั้งจังหวัด เป็นปัญหาอย่างหนึ่งในเรื่องของการปิดกั้นความรู้ โดยขณะนี้ทางจังหวัดก็ได้พยายามพูดคุยกับผู้บริหารบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (NT) หรือบริษัทต่าง ๆ ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต ว่าจะสามารถเพิ่มศักยภาพพวกนี้ได้ไหม ทั้งนี้การเรียนรู้ไม่ได้อยู่แค่ขีดจำกัดอยู่เฉพาะในโรงเรียน แต่เราสามารถสร้างให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในโลกกว้างได้อย่างไร้ขีดจำกัด ช่วยให้โรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ได้อยู่ในตัวอำเภอได้เข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกัน ด้านสิ่งที่กังวลที่สุด คือการใช้สื่อออนไลน์ที่สามารถให้ทั้งคุณและโทษได้ ทำอย่างไรเราจะสามารถให้นักเรียนน

 

   อ่าน 154 ครั้ง