ภาพกิจกรรม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์
 ภาพกิจกรรม  









เรื่อง >>  วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ประชุมโครงการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในระดับพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ 2567

รายละเอียด >>  วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. นางสาวสุภาพันธ์ุ ทองพยงค์ ศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วย นายพสกร ทวีทรัพย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และนางสาวไฉน ผึ่งผาย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ เข้าร่วม“ประชุมโครงการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในระดับพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ 2567” โดยมี นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วย นายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายวรัท พฤกษาทวีกุล หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ตรวจราชการ ศธ. ศึกษาธิการภาค (ศธภ.) ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ผู้บริหารส่วนกลางในสังกัด รวมทั้งบุคลากรเขตตรวจราชการ 15, 16, 17 เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมเรือนคุ้ม โรงแรมคุ้มภูคำ >>ปลัด ศธ. “สุเทพ แก่งสันเทียะ” มอบนโยบายศึกษาธิการภาค/จังหวัด และหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ เน้นขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของ รมว.ศธ. เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดภาระครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครอง พร้อมลดขั้นตอนการดำเนินงาน นำระบบเทคโนโลยี Smart Office ลดใช้กระดาษในการประชุมและการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภาครัฐ >>ปลัด ศธ. กล่าวว่า ตามคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี “นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี” ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อ 11 กันยายน 2566 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำมาเป็นกรอบในการกำหนดนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา พร้อมมอบนโยบายแก่ผู้บริหารและบุคลากรในสังกัดทุกระดับเมื่อ 14 กันยายนที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง รวมถึงข้อสั่งการและแนวปฏิบัติ นำไปขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม >>ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายเกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม ปลัด ศธ. จึงฝากแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายที่จะให้ผู้บริหารนำมาใช้เป็นกรอบในการดำเนินงาน กล่าวคือ ผู้บริหารและบุคลากรของทุกหน่วยงานในสังกัด ศธ. ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาลและนโยบาย รมว.ศธ. อย่างถูกต้อง ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ก่อให้เกิดความคิดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่หลากหลายและสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทุกช่วงวัยได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสุขกับชีวิตวัยเรียน รวมทั้งต้องคำนึงถึงปัญหา ความแตกต่าง ความหลากหลาย และปรับแนวทางการขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงตามบริบทในแต่ละพื้นที่ >>ทั้งนี้ การจัดทำแผนการศึกษาของจังหวัด ต้องสอดรับกับยุทธศาสตร์ของจังหวัดเป็นสำคัญ เพราะในแต่ละพื้นที่นั้นมีบริบทที่แตกต่างกัน ซึ่ง ศธจ. เปรียบเสมือนรองผู้ว่าราชการจังหวัดด้านการศึกษา ในการขับเคลื่อนแผนการศึกษาของจังหวัดโดยยึดแผนการศึกษาชาติให้มีความสอดคล้องกับแผนการศึกษาของ ศธ. จึงต้องเป็นศูนย์กลางประสานงานความร่วมมือของทุกหน่วยงานในการจัดทำแผนการศึกษาของจังหวัดให้เป็นรูปธรรม เพื่อนำไปบรูณาการการทำงานขับเคลื่อนภายใต้แผนการศึกษาของจังหวัด สร้างบทบาทในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติให้ได้ >>ตลอดจนการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบาย ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผู้บริหารและบุคลากรของทุกหน่วยงานในสังกัด ศธ.และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันในพื้นที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อความเป็นเอกภาพในการดำเนินงาน >>โดยเครื่องมือหนึ่งที่จะสามารถใช้สำหรับนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างชัดเจน พร้อมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาในระดับภาคและระดับจังหวัด นอกเหนือจากเรื่องนโยบายขับเคลื่อนการจัดการศึกษา คือ อยากให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับระบบ Smart Office นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดขั้นตอนในการดำเนินงาน ลดการใช้กระดาษ ประหยัดงบประมาณ รวมถึงลดการใช้บุคลากรในการผลิตและจัดเก็บเอกสาร ขณะนี้ ศธ.เริ่มใช้ระบบประชุม e-Meeting ซึ่งไม่มีวาระการประชุมเป็นกระดาษแล้ว และพร้อมสนับสนุนให้ส่วนราชการในระดับภูมิภาคใช้ระบบการทำงานแบบ Smart Office เช่นเดียวกัน รวมไปถึงการลงพื้นที่ก็ขอให้ใช้ไฟล์เอกสาร หรือการจัดนิทรรศการอิเล็กทรอนิกส์ >> “ศธภ. และ ศธจ. ต้องเป็นศูนย์กลางประสานการบูรณาการความคิดร่วมกันระหว่างทุกหน่วยงานสังกัด ศธ. ระดับพื้นที่ อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์กับเด็ก เยาวชน และประชาชน ซึ่งเป็นผู้รับบริการได้อย่างเป็นรูปธรรม และต้องมีการกำกับ เร่งรัด ติดตามประเมินผล และรายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อให้ทราบความก้าวหน้า ของผลการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย อีกทั้งเป็นการช่วยกระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุนให้หน่วยงานนำนโยบายไปปฏิบัติจริง ส่วนนโยบายไหนยังไม่มีความก้าวหน้าในการดำเนินงาน หรือมีปัญหาอุปสรรคใด ต้องรีบดำเนินการปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ยกระดับการศึกษาของผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป” >> จากนั้นได้มีการเสวนาการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา ศธ. โดยได้รับเกียรติจากว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รักษาราชแทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายวรัท พฤกษาทวีกุล หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายธนู ขวัญเดช รองเลขาธิการสภาการศึกษา ว่าที่ร้อยเอก วิสาร ปัญญชุณห์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ นายคมกกฤช จันทร์ขจร รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และนายสมบัติ นาหลวง ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 #โครงการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา #เรียนดีมีความสุข #กระทรวงศึกษาธิการ #สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์

 

   อ่าน 184 ครั้ง