ภาพกิจกรรม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์
 ภาพกิจกรรม  









เรื่อง >>  วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2566 พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2566

รายละเอียด >>  วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.09 น. นางสาวสุภาพันธ์ุ ทองพยงค์ ศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วย นายพสกร ทวีทรัพย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และนางสาวไฉน ผึ่งผาย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ เข้าร่วม“พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2566” (ยอดเงินถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน 2.6 ล้านบาท) ณ วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร (พระอารามหลวง) จ.เชียงใหม่ >>โอกาสนี้ รมว.ศธ. พร้อมด้วยนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ., ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ., รองปลัด ศธ., ผู้ตรวจราชการ ศธ., ศึกษาธิการภาค, ศึกษาธิการจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งคณะผู้บริหาร ข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา ศธ. และประชาชน เข้าร่วมในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน และปวารณาถวายจตุปัจจัย เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา >>ในการนี้ รมว.ศธ. และคณะผู้บริหารระดับสูง ศธ. ได้มอบทุนการศึกษาแก่โรงเรียนพระปริยัติธรรม (สามัคคีวิทยาทาน), โรงเรียนเมตตาศึกษา, โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และโรงเรียนสันกำแพง สถานศึกษาละ 10,000 บาท รวม 40,000 บาท และมีผู้มีจิตกุศลร่วมถวายจตุปัจจัย บำรุงและบูรณะพระอาราม ทำบุญกฐินพระราชทาน ประจำปี 2566 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,594,694.23 บาท (ณ เวลา 9.19 น.) >>วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองฯ กลางใจเมืองเชียงใหม่ แต่เดิมชื่อ “วัดโชติการามวิหาร” แปลว่าพระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว เนื่องจากเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดเจดีย์หลวง” เนื่องจากในภาษาเหนือหรือคำเมือง “หลวง”แปลว่า “ใหญ่” หมายถึง พระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ สูงประมาณ 80 เมตร เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ 60 เมตร ถือเป็นพระธาตุที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่และมีความสูงที่สุดในภาคเหนือ >>สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ในอดีตมีการยกฉัตรยอดมหาเจดีย์ปิดด้วยทองคำ พร้อมนำแก้ว 3 ลูก ใส่ยอดมหาเจดีย์ ประดับด้วยพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งในโขงทั้ง 4 ด้าน มีรูป พญานาคปั้นเต็มตัว 8 ตัว ตัวละ 5 หัว อยู่ใน 2 ข้างบันได พร้อมรูปปั้นราชสีห์ 4 ตัว ตามมุมมหาเจดีย์ มีรูปปั้นช้างค้ำรายล้อม 28 เชือก แต่ปัจจุบันคงเหลือสภาพเพียงครึ่งองค์ เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ในสมัยมหาเทวีจิรประภา รัชกาลที่ 15 แห่งราชวงศ์มังราย ประมาณ พ.ศ. 2088 ทำให้ยอดพระเจดีย์หลวงหักพังทลายลงมา โดยได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535 โดยบริเวณวัดมีสิ่งสักการะหลากหลายได้แก่ เจดีย์หลวง อินทขีล ต้นยาง กุมภัณฑ์ พระฤๅษี ซึ่งสะท้อนพัฒนาการคติจักรวาลได้ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่แวดล้อมของเมือง

 

   อ่าน 129 ครั้ง