ภาพกิจกรรม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์
 ภาพกิจกรรม  









เรื่อง >>  วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) ระดับจังหวัด

รายละเอียด >>  วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568 เวลา 13.30 น. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ จัด“ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) ระดับจังหวัด” โดยมี นายกกชัย ฉายรัศมีกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานประชุม พร้อมด้วย นางสาวสุภาพันธุ์ ทองพยงค์ ศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นคณะกรรมการ/เลขานุการ และคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เข้าร่วมประชุม เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) ระดับจังหวัด ณ ห้องประชุม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ >>นโยบายรัฐบาลด้านการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) -รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูปการศึกษาและให้ความสำคัญในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาหรือพัฒนาศักยภาพตามความถนัดของผู้เรียน รวมถึงการส่งเสริมการสร้างรายได้ระหว่างเรียน เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีคุณค่าต่อไปในอนาคต ประกอบกับคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๗ มีมติรับทราบและเห็นชอบมาตรการขับเคลื่อนประเทศเพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) -คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) ใน ๔ มาตรการสำคัญ ได้แก่ ค้นหา ช่วยเหลือ ส่งต่อ และดูแลเด็กและเยาวชนให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง ได้แก่ มาตรการที่ 1 การค้นหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ผ่านการบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การค้นพบเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา มาตรการที่ 2 การติดตาม ช่วยเหลือ ส่งต่อ และดูแลเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือเด็ก และเยาวชนแต่ละราย อย่างเหมาะสม ทั้งด้านการศึกษา สุขภาวะ สภาพความเป็นอยู่ และสภาพสังคม มาตรการที่ 3 การจัดการศึกษาและเรียนรู้แบบยืดหยุ่น มีคุณภาพ และเหมาะสมกับศักยภาพของเด็กและเยาวชนแต่ละราย มีเป้าหมายให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของตนเอง มาตรการที่ 4 ส่งเสริมผู้ประกอบการภาคเอกชนให้เข้ามาร่วมจัดการศึกษาหรือเรียนรู้มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหรือการเรียนรู้ในลักษณะ Learn to Earn >>ที่ประชุมมีรายละเอียดการพิจารณา ดังนี้ -พิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) ระดับจังหวัด -พิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการด้านการค้นหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาระดับตำบล/เทศบาลเมือง -พิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการด้านการค้นหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ระดับอำเภอ -พิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการติดตาม ช่วยเหลือ ส่งต่อ และดูแลเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา -พิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการด้านการจัดการศึกษาและการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นมีคุณภาพ และเหมาะสมกับศักยภาพของเด็กและเยาวชนแต่ละราย -พิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการส่งเสริมผู้ประกอบการภาคเอกชนร่วมจัดการศึกษาหรือเรียนรู้ (Learn to Earn) -พิจารณากำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์ (Thailand Zero Dropout) ระดับจังหวัด

 

   อ่าน 146 ครั้ง