จดหมายข่าว
 จดหมายข่าว  


เรื่อง >>  วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2567 พิธีถวายราชสักการะและกล่าวถวายราชสดุดี วันท้องถิ่นไทย ประจำปี 2567

รายละเอียด >>  วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. นางสาวสุภาพันธุ์ ทองพยงค์ ศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ มอบหมายให้ นางขวัญนภา จันทร์ดี รองศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ และนางรัศมี จันทร์เพ็ง ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน เข้าร่วม“พิธีถวายราชสักการะและกล่าวถวายราชสดุดีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันท้องถิ่นไทย ประจำปี 2567” โดยมี นายสืบพงษ์ นิ่มพูลสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธาน พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ศาล ทหาร ผู้นำท้องถิ่น/ท้องที่ เข้าร่วมพิธี ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ >>18 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันท้องถิ่นไทย จากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอมเป็น "สุขาภิบาลท่าฉลอม" ในวันที่ 18 มีนาคม 2448 (ร.ศ.124) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายอำนาจการปกครองให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง อันนำไปสู่การวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทางคณะรัฐมนตรี จึงมีมติในวันที่ 22 มิถุนายน 2553 ประกาศให้วันที่ 18 มีนาคม ของทุกปี เป็น วันท้องถิ่นไทย โดยจังหวัดสมุทรสาคร จะมีการจัดงานประเพณี 18 มีนาคม สุขาภิบาลท่าฉลอม เป็นประจำทุกปี พร้อม ๆ กับหลายจังหวัด ทั้งนี้ ตามประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116) สุขาภิบาลแห่งแรกของไทยได้รับการจัดตั้งขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครเรียกว่า "สุขาภิบาลกรุงเทพ" โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ขึ้น โดยผู้บริหารสุขาภิบาลกรุงเทพ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของเสนาบดีกระทรวงนครบาล ตามที่ทรงทอดพระเนตรมาจากการเสด็จประพาสต่างประเทศ หลังจากนั้น 8 ปีคือในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 (ร.ศ. 124) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาครเป็น "สุขาภิบาล" เรียกว่า "สุขาภิบาลท่าฉลอม" ซึ่งถือว่าเป็นสุขาภิบาล "หัวเมือง" แห่งแรกของไทย ซึ่งในปัจจุบันคือ "เทศบาลนครสมุทรสาคร" สำหรับเหตุที่การจัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองล่าช้าไปมาก เพราะสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรง เล็งเห็นว่า การสุขาภิบาลซึ่งเป็นรูปแบบที่ประชาชนปกครองตนเองนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากราษฎรในห

 

   อ่าน 20 ครั้ง